วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พลังคลื่นทะเล

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังคลื่นทะเล

     โลกในยุคปัจจุบันเป็นโลกแห่งเทคโนโลยี การที่จะก้าวไปสู่อนาคตและการค้นหาแหล่งพลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานธรรมชาติ ของมนุษย์นั้นนับว่าไม่มีที่สิ้นสุด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกของเรานั้นมีทรัพยากรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด  ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้กระทั้งนิวเคลียร์ หรือแร่ยูเรเนียมนั้นก็เป็นทรัพยาการที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลก และทรัพยากรณ์เหล่านนี้ถูกมองจากเหล่านักวิทยาศาตร์ว่าถ้าเกิดวันใดวันหนึ่งมันหมดลง การที่ทรัพยากรณ์เหล่านี้จะกลับให้ใช้ได้อีกครั้งก็คงต้องใช้เวลานับล้าน ๆ ปีกันเลยทีเดียว ดังนั้นการค้นหาทรัพยากรที่สะอาดและมีวงรอบให้นำกลับมาใช้งานกันอย่างไม่มีขีดจำกัดจึง เรียกได้ว่าเป็นพลังงานที่จะสามารถนำมาทดแทนพลังงานในส่วนที่กำลังจะหมดไปจากโลกโดยฝีมือมนุษย์ในอนาคตอันไกล้นี้

     ตัวอย่างที่เราสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันนั้นก็อยู่ไกล้ตัวเรา อาทิเช่น  พลังงานน้ำ --- ที่จะคอยหมุนเวียนกลับมาให้ใช้หลังฝนตก (อันนี้ก็ไม่แน่ถ้าฝนแล้ง 555+)  พลังงานแสงอาทิตย์ที่คอยโผล่มาทุกเช้าเพื่อปลุกให้เราไปทำงาน พลังงานลม และพลังงานอื่น ๆ อีกหลายอย่างแต่วันนี้ Techno To-future จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับพลังงานลมในอีกรูปแบบนึ่งที่กำลังนิยมและถูกพัฒนาให้ใช้กันอย่างต่อเนื่อง

------------พลังงานคลื่นทะเลนั้นเอง

     พลังงานคลื่นทะเล เป็นการเก็บเกี่ยวเอา พลังงานที่ลม ถ่ายทอดให้กับผิวน้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นวิ่งเข้าสู่ชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานคลื่นจะถูกออกแบบให้ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำบริเวณหน้าอ่าวด้านหน้าที่หันเข้าหา คลื่น การใช้คลื่นเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นถ้าจะให้ได้ผลจะต้องอยู่ในโซนที่มียอดคลื่นเฉลี่ยอยู่ที่ 8 เมตร ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีแรงลมด้วย 
    แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในประเทศไทยนั้นมีคลื่นที่ได้รับการวัดแล้วสูงสุดเพียง 4 เมตรแน่นอนว่าการใช้พลังงานชนิดนี้มาผลิตไฟฟ้ายังคงเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศไทย

ในการนำพลังงานจากคลื่นมาใช้มีอยู่ 2 ประเภทได้แก่
  • แบบอยู่กับที่ (Fixed)
  • แบบลอย (Floating)
                                       พลังคลื่นโดยใช้ทุ่นลอยที Reedsport Oregon 150 kilowatts
                                                          รูปจาก   energysavingmedia
                 จะเห็นได้ว่าแนวคิดการนำพลังงานจากคลื่นมาใช้งานนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และคงจะมีการพัฒนาต่อไปและหวังว่าบ้านเราคงจะได้มีโรงไฟฟ้าแบบนี้ใหญ่ ๆ สักแห่งในอนาคต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น