วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

SAP ERP เพื่อจัดการทุกอย่างในองค์กร

SAP คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไรที่จะนำมาใช้งาน

               เป็นที่ทรากันดีว่าองค์กร หรือ บริษัทนั้น ประกอบกันด้วยหลาย ๆ ส่วนหลายหน่วยงานที่มารวมตัวกันเพื่อให้เกิดเป็นองค์กรหรือบริษัท ซึ่งก็จะมีทั้งส่วนของแผนกทรพยากรบุคคล  การเงิน บัญชี IT
ถ้าเป็นส่วนของโรงงานแล้วด้วยละก็จะมี ทั้ง PM Spare part มากมายหลายส่วน แล้วจะเป็นยังไงถ้าเราหน่วยงานหรือองกรค์นั้งไม่มีเครื่องมือที่จะมาช่วยผสานงานในหลาย ๆ หน่วยงานให้สามารถทำงานสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธฺืภาพ -------  เหนื่อยนะสิถามได้ 555+

             เรามารุ้จักระบบของที่จะมาช่วยผสานงานและจัดเก็บข้อมูลในแต่ละหน่วยงานให้ง่ายต่อการ Manage กันดีกว่า โดยวันนี้จะพาไปรู้จักกับระบบ SAP กันดีกว่าซึ่งปัจจุบันทางองค์กรใหญ่ ๆ หลายแหล่งนิยมใช้ระบบนี้มาช่วยในการบรหารงานกันมากขึ้น เพราะให้ทั้งความสะดวกและรวดเร็วในการผสานการทำงานของในหลาย ๆ แผนกเข้าด้วยกัน
            SAP ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP อีอาร์พี คือระบบจัดการทรัพยากรในองค์กร โดยระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลในการปฏิบัติงานทุกส่วนในองค์กร เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่และต้องการโปรแกรมควบคุมการจัดการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ERP อีอาร์พี ยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบภายนอกองค์กรได้ เช่น ลูกค้า, คู่ค้า, ตัวแทนจำหน่าย, ซัพพลายเออร์, ฯลฯ เป็นต้น...

 หลักการก็คือ การบันทึกของมูลลงเพียงครั้งเดียวแต่คนในบริษัทสามารถเปิดออกมาดูได้จากหลายๆแผนก จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ส่วนค่าใช้จ่ายของการลงทุนติดตั้งค่อนข้างสูงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการนำระบบERP อีอาร์พี ไปใช้มีคือช่วยใน

  • การเชื่อมโยงของข้อมูลในการทำงานแต่ละส่วนงาน
  • ลดความซ้ำซ้อนสำหรับกระบวนการทำงานที่ยังมีความคาบเกี่ยวกัน
  • สามารถมองเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งองค์กรได้เป็นอย่างดี
  • สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบมาช่วยในการตัดสินใจได้
  • ช่วยในการวางแผนการผลิต
  • ช่วยในการวางแผน Maintenance เครื่องจักร


โดยที่ Sap นั้นจะถูกแบ่งเป็น โมดูลแอพพลิเคชัน ในระบบ Module หลัก ๆ ที่ใช้ใน Sap คือ


  1. FI - Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
  2. CO - Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
  3. AM - Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร
  4. SD - Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
  5. MM - Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
  6. PP - Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
  7. QM - Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
  8. PM - Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
  9. HR - Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
  10. TR - Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
  11. WF - Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
  12. IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products, Engineering and Construction, Healthcare, Higher
  13. Education and Research, High Tech, Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail, Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities

ดังนั้นจึงทำให้องค์กรใหญ่หันมาใช้ระบบ SAP ในการบรหารงาน  และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ SAP สามารถทำงานผ่านเครื่อข่าย Internet ได้ นั้นแสดงว่า องคืกรเดียวกันแต่อยู่คนละชีกดลกก็สามารถเชื่อมโยงข้องมูลถึงกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น